หน้าเว็บ

โครงสร้างประโยค-การผันกริยา

โครงสร้างประโยค-การผันกริยา

La conjugaison des verbes français

(ลา กงชูเกซง เด แวร์บ ฟรังเซ่)

การกระจายกริยา 

กลุ่ม 1


กริยาภาษาฝรั่งเศสมีด้วยกัน 3 กลุ่ม มีวิธีการกระจายที่ต่างกัน โดยเราจะมาเริ่มกันที่กริยากลุ่มที่ 1
กริยากลุ่มที่ 1 ลงท้ายด้วย er 
ตัวอย่างกริยา Verbe (v.) parler(ปาร์เล่) แปลว่า พูด
ให้ตัด er ออกไป เหลือแต่ parl แล้วเติมท้ายดังนี้
ประธานกริยา
Je(เฌอ)parle(ปาร์ล(เลอะ)
Tu(ตู)parles(ปาร์ล(เลอะ)
Il(อิล)parle(ปาร์ล(เลอะ)
Elle(แอ็ล(เลอะ)parle(ปาร์ล(เลอะ)
Nous(นู)parlons(ปาร์ลง)
Vous(วู)parlez(ปาร์เล่)
Ils(อิล)parlent(ปาร์ล(เลอะ)
Elles(แอล(เลอะ)parlent(ปาร์ล(เลอะ)
*ข้อสังเกต
1.กริยาในประธาน Je, Tu, Il, Elle  ออกเสียงเหมือนกัน เพราะ s ไม่ออกเสียง
2.กริยาของประธาน Nous ตัว s  ไม่ออกเสียง
3.กริยาของประธาน Ils, Elles ตัว nt ไม่ออกเสียง
  • กริยาตัวอื่นๆของกลุ่มนี้ เช่น marcher(มาร์เช่) แปลว่า เดินajouter(อาชูเต้) แปลว่า เพิ่มเติมhabiter(อาบิเต้) แปลว่า อาศัยอยู่penser(ปังเซ่) แปลว่า คิด เป็นต้น

  • กริยา (v.) ajouter ที่มีตัว a เป็นสระนำหน้า  ประธาน Je ต้องลดรูปเป็น  J’ajoute(ชาชุท(เตอะ)

  • กริยา (v.) habiter ที่ตัว h เป็น h muet(ตัว h ไม่ออกเสียง) ประธาน Je ต้องลดรูปเป็น  J’habite(ชาบิ๊ต(เตอะ)
ยังคงมีกริยาอื่นๆที่เราต้องเรียนรู้อีกมาก แต่วิธีการกระจายในกลุ่ม 1 นั้นเป็นกลุ่มที่ง่ายที่สุดในการกระจายแล้ว ลองผันกริยากันเล่นๆดูครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น